เจ้าแม่กวนอิม
พระโพธิสัตว์กวนอิม ของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต มีกำเนิดจากพระสูตรมหายานของอินเดีย และได้ผสมผสานกับความเชื่อถือดั้งเดิมของชาวจีน เป็นตำนานเกี่ยวกับเรื่องพระธิดาเมี่ยวซ่าน จึงเกิดเป็นเจ้าแม่กวนอิมโพธิสัตว์ในภาคสตรีขึ้นเพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยนและแสดงถึงความเมตรากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้น พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์เมื่อไปโปรดพวกที่โหดร้ายใจอำมหิตก็จะแปลงกายเป็นเทพที่มีร่างกายสูงใหญ่ หน้าตาดุร้าย แต่ถ้าไปโปรดในหมู่ผู้หญิงก็จะแปลงกายเป็นหญิงที่สวยงามที่สวยงามที่สุดและมีเสน่ห์มากที่สุดมากกว่าซะอีก ถ้าไปโปรดคนที่มีอำนาจในหมู่พระยามหากษัตริย์ก็จะแปลงกายเป็นเจ้าชายผู้สูงศักดิ์ หรือผู้มีอำนาจที่มากกว่า จึงโปรดสัตว์ได้ผล เจ้าแม่กวนอิมโพธิสัตว์เป็นปรางหนึ่งของพระอวโลกิเตศวรแสดงถึงความรักที่มีต่อทุกชนชั้น
พระโพธิสัตว์กวนอิม (ประสูติวันที่ 19 เดือน 2 ของจีน) ชาติสุดท้ายเป็นราชธิดานาม เมี่ยวซ่าน เดิมเป็นเทพธิดาจุติมายังโลกมนุษย์เพื่อปลดเปลื้องทุกข์ภัยแก่มวลมนุษย์ เป็นราชธิดาองค์ที่ 3 ของกษัตริย์เมี่ยวจวง ตอนเยาว์วัยเป็นพุทธมามะกะ รู้แจ้งในหลักธรรมอย่างลึกซึ้ง ตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าจะบำเพ็ญภาวนา เพื่อต้องการหลุดพ้นจากสังสารวัฏ และออกบวชในที่สุดในวันที่ 19 เดือน 9 แต่พระบิดาไม่เห็นด้วย แต่ต้องการให้แต่งงานกับผู้ที่พระองค์ทรงเลือกให้ แต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านไม่สนพระทัย เพราะมีพระทัยแน่วแน่ที่จะปลดเปลื้องทุกข์ให้แก่มวยมนุษย์ แม้จะถูกพระบิดาดุด่าและทรมานอย่างไรก็ไม่ย่อท้อ และไม่เคยโกรธเคือง
ต่อมาองค์หญิงเมี่ยวซ่านได้ถูกขับออกจากวังไปทำงานหนักในสวนดอกไม้เช่นต้องหาบน้ำ ปลูกต้นไม้ เพื่อต้องการให้ท่านเปลี่ยนใจ แต่ก็มีรุกขเทวดามาช่วยทำแทนให้ทุกอย่าง เมื่อพระบิดาเห็นว่าไม่ได้ผลจึงรับสั่งให้หัวหน้าแม่ชี นำองค์หญิงเมี่ยวซ่านไปอยู่ที่วัดนกยูงขาว และให้ทำงานทั้งหมดของวัดแต่ผู้เดียว แต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านกลับยิ่งมีพระทัยเด็ดเดี่ยวและมั่นคงไม่หวั่นไหว พระบิดาก็ยิ่งกริ้วโกรธมากยิ่งขึ้น รับสั่งให้ทหารเผาวัดจนกลายเป็นจุณ พร้อมกับแม่ชีทั้งวัด แต่องค์หญิงเมี่ยวซ่านกลับปลอดภัย
พระเจ้าเมี่ยวจวง (พระบิดา) ทรงทราบดังนั้น จึงรับสั่งให้นำตัวราชธิดาไปประหารชีวิต แต่เทพารักษ์ที่คอยคุ้มครององค์หญิงกลับช่วยเหลือคุ้มครองโดยเนรมิตทองทิพย์เป็นเกราะคุ้มครอง ไม่ว่าอาวุธใดก็ไม่ระคาย อาวุธร้ายใดๆก็ไม่ระคายผิวถึง 3 ครั้ง 3 ครา พระบิดายิ่งทรงกริ้วหนักยิ่งขึ้น โดยเข้าพระทัยว่านายทหารไม่กล้าประหารจริง จึงสั่งประหารเหล่าทหารเหล่านั้นแทนทั้งหมด แล้วรับสั่งให้จับเจ้าหญิงไปแขวนคอ ทว่าผ้าแพรที่แขวนคอก็ขาดสะบั้นอีกเช่นเคย
ทันใดนั้นปรากฏว่ามีเสื่อเทวดาตัวหนึ่งใหญ่โตมาก ได้มาคาบองค์หญิงและหลบหนีไปที่เขาเซียงซัน ต่อมาเทพไท่ไป๋ได้แปลงร่างเป็นชายชรามาโปรดเจ้าหญิง คือได้ชี้แนะเคล็ดลับของการบำเพ็ญเพียร ดับทุกข์ จนที่สุดได้สำเร็จมรรคผล เป็นผลสำเร็จในวันที่ 19 เดือน 6 ส่วนพระราชบิดาเข้าพระทัยว่าเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านถูกเสือคาบไปแล้วก็ไม่ได้ใส่ใจ
ต่อมาบาปกรรมที่พระองค์ได้ก่อไว้ส่งผลเกิดป่วยเป็นโรคประหลาดร้ายแรงไม่สามารถที่จะรักษาได้ เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านได้ทราบข่าวด้วยญาณวิพีว่าพระบิดากำลังประสพเคาะห์กรรมอย่างหนัก ด้วยความกตัญญูเป็นเลิศไม่เคยถือโกรธ และทรงได้สละดวงตาและแขนทั้งสองข้าง เพื่อรักษาพระบิดาจนหายจากโรคร้าย และต่อมาภายหลังท่านได้สำเร็จมรรคผลเป็นพระอรหันต์ได้ดวงตาและแขนคืนกลับมา
ชาวไทยเชื้อสายจีนในเมืองไทยรู้จักและนับถือเจ้าแม่กวนอิม (กวนอิมเนี้ย) มากที่สุดองค์หนึ่งในบรรดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของจีน เนื่องจากเจ้าแม่กวนอิมมีจิตเมตตาสูงไม่สนใจลาภ ยศ สรรเสริญใดๆจึงจัดสร้างตัวแทนเจ้าแม่กวนอิม ออกมาบูชาหลายรุ่นหลายแบบ เพื่อเป็นศิริมงคลกับตนเองและครอบครัว ป้องกันคนที่เกิดปี,เดือน,วันและเวลาชง
เจ้าแม่กวนอิมรุ่นที่ฮือฮาและถูกกล่าวขานกันมากที่สุดคือรุ่นซาฮะหรือไตรภาคี(รุ่นไตรลักษณ์) คือ
1.ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความไม่เที่ยงแท้คือมีเกิดขึ้น,ตั้งอยู่และดับไป (เมื่อมีเคาะห์แก้ไขได้)
2. ความเป็นทุกข์หมายถึงทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ต้องเปลี่ยนแปลง (สิ่งที่ไม่ดีผ่านพ้นไปแล้วความมีโชคก็จะตามมา)
3.ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรที่เป็นของเรา (บูชาไปให้คนอื่นได้)
คาถาสวดบูชาเจ้าแม่กวนอิม
บทสรรเสริญพระคุณ นะโมกวงซิอิม ผ่อสัก
นำโมฮูก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโคว่ กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก ทั่งจี้โต
โอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต
ซาผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งลี่ซิ้ง เจ็กเฉียก ใจเอียง ห่วยอุ่ยติ๊ง
นำโมม่อออป่อเยี๊ยปอล้อบิ๊ก (กราบ)
วันที่ 19 เดือน 2 (วันเดือนของจีน) วันประสูติ
วันที่ 19 เดือน 6 (วันเดือนของจีน) บรรลุธรรมสำเร็จ
วันที่ 19 เดือน 9 (วันเดือนของจีน) วันออกบวช
-------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่1 นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย
คือปางที่พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ถือลูกประคำ
ผู้ปฏิบัติจะต้องสวดมนต์ภาวนาด้วยความมีเมตตากรุณาและความศรัทธา อย่าสวดเสียงดัง อย่ารีบร้อน
นำ มอ - ความนอบน้อม พึ่งพิง
ฮอ ลา ตัน นอ - ความเป็นรัตนะ
ตอ ลา เหย่ - 3
เย - นมัสการ
ทั้งประโยคเป็นคาถาน้อมนอบนมัสการไตรลักษณ์ทศทิศทั้ง3
ประโยคนี้พระโพธิสัตว์ขอให้เราน้อมนอบพึ่งพิงมหามรรค แล้วบรรลุแจ้งชัดในจิต แลเห็นสภาวะแห่งตน อันเป็นธารนีที่จะสำเร็จสัมมาสัมพุทธิ ที่ว่าน้อมนอบพึ่งพิงก็คือไตร3 ถือพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถือพระธรรมเป็นสรณะ ถือพระสงค์เป็นสรณะ
ปางที่2 นำ มอ ออ ลี เย
นี่คือองค์พระจินดามณีจักรอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เป็นรูปถือธรรมจักร ผู้ปฏิบัติจะต้องปฏิบัติด้วยความเคารพ
นำ มอ - ความนอบน้อม พึ่งพิง
ออ ลี - องค์อริยะ
เย - นมัสการ
ทั้งประโยคหมายความว่าขอนอบน้อมพึ่งพิงองค์อริยะซึ่งละบาป อกุศลธรรมแล้ว ประโยคนี้เป็นธารนีที่พระโพธิสัตว์สั่งสอนชาวโลก จะต้องปฏิบัติทางจิตเป็นมูลฐาน พระสรรพธรรมล้วนเกิดขึ้นด้วยจิต ฉะนั้นผู้ปฏิบัติ จะต้องมีความแจ้งชัดในจิตและเห็นสภาวะแห่งตน จึงจะสามารถบรรลุโพธิภูมิ ไม่แจ้งชัดในจิต ก็จะไม่สามารถเห็นสภาวะแห่งตน ถ้าความคิดไม่เกิด จิตจะสว่างแจ่มใน ตถาคตเป็นอจรก็จะบรรลุถึงนิพพาน
-----------------------------------------------------------------------
ปางที่11 ผ่อ ลู กิด ตี สิด ฮู ลา เลง ถ่อ พอ
ปางนี้พระโพธิสัตว์ปรากฏตัวเป็นสัมโภคกายของพระไวโรจนะพุทธเจ้าเพื่อโปรดสัตว์จำนวนอมิต
ผ่อ ลู กิด ตี - จิตต้องกับธรรม
สิด ฮู ลา - ท่องเที่ยวไปอย่างอิสระ
เล่ง ถ่อ พอ - เนื่องด้วยสำเร็จในมรรคผล สัตว์ในทศทิศโลก เมื่อได้ยินเสียง ล้วนเกิดความศรัทธา
ประโยคนี้พระโพธิสัตว์สอนให้ผู้ปฏิบัติ ต้องตั้งใจมุ่งก้าวหน้าไป การนั่งเพ่งสมาธิเป็นการฝึกฝนให้ใจกายรวมเป็นหนึ่ง ฉะนั้นเวลาปฏิบัติ ต้องนั่งตรง จิตมีสมาธิ ก็จะได้แสงสว่างอันสมบูรณ์ มารไม่สามารถรบกวนได้ ทุกสิ่งจะเป็นไปตามความต้องการ
ปางที่16 สัต พอ สัต ตอ นอ มอ พอ สัต ตอ นอ มอ พอ เค
ปางนี้พระโพธิสัตว์ปรากฏเป็นรูปเทพเจ้าภคติ ร่างใหญ่ผิวดำถือโตมอญเป็นศาสตราวุธ
สัต พอ สัต ตอ - พุทธธรรมอันไม่มีขอบเขตสิ้นสุด สรรพสัตว์ในโลกนี้ล้วนบรรลุสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้
นอ มอ สัต ตอ - พุทธธรรมเป็นความเสมอภาค มิได้แบ่งแยกเป็นสูงหรือต่ำ
นอ มอ พอ เค - พุทธธรรมมีความไพศาล ผู้ปฏิบัติธรรมจะสามารถระงับภยันตรายทุกสิ่ง
เป็นคาถาที่ไม่ว่านักปราชญ์ หรือคนโง่เขลา นกหรือสัตว์ล้วนจะหลุดพ้นได้ ถ้าสรรพสัตว์ปฏิบัติด้วยความจริงใจ พระโพธิสัตว์ก็จะให้ความเมตตากรุณา ปรากฏให้เห็นพันกรพันเนตร มาโปรดให้พ้นภัย เพราะพระโพธิสัตว์มีอาวุธที่สามารถปราบปรามมารร้าย ให้ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติธรรมได้อย่างสุขสบาย
๒๗. กี ลู กี ลู กิด มง
กี ลู – การเกิดความคิดปฎิบัติธรรมสามารถบันดาลให้เทพเจ้ามาปกปักรักษา
กิด มง – ผู้ปฏิบัติจะต้องสร้างสมบุญบารมีเพื่อเป็นพื้นฐานในการบรรลุสู่มหามรรค (มรรคผล-นิพพาน)
----------------------------------------------------------
๒๘. ตู ลู ตู ลู ฟา เซ เย ตี
ตู ลู – ผู้ปฏิบัติจะต้องยืนให้มั่นตั้งใจปฏิบัติ ไม่หลุ่มหลงด้วยพวกเดียรถี มีความแน่วแน่ มีสมาธิ มีความสงบ
ฟา เซ เย ตี – มีความบริสุทธิ์อันยิ่งใหญ่สามารถข้ามพ้นสังสารวัฏได้
----------------------------------------------------
๒๙. หม่อ ฮอ ฮัว เซ เย ตี
พระสัทธรรมอันไพศาล สามารถระงับความเกิดดับแห่งกิเลสได้ ภัยพิบัติต่างๆไม่แผ้วพาน ทุก
คนสามารถสำเร็จเป็นพุทธะได้เหมือนหัน
กำจัดความหลงผิด ความเห็นแก่ตัว ปล่อยวางปัจจัยทางโลก
-------------------------------------------------------
๓๐. ทอ ลา ทอ ลา
เมื่อปฏิบัติจิตให้มีสภาพเหมือนอากาศอันโปร่งใส ไร้ละอองธุลีแม้แต่น้อย ก็จะได้ไปเกิดใน
สวรรค์ชั้นพรหมได้
๓๑. ตี ลี นี
ตี – โลก
ลี – สัตว์ทั้งหลายล้วนสามารถรับการโปรดได้
นี – พรหมจาริณีที่ปฏิบัติธรรมอยู่
๓๒. สิด ฮู ลา เย
เมื่อปฏิบัติธรรมเข้าถึงความสมบูรณ์แห่งสภาวะเดิมแล้ว จะมีความสว่างปรากฏในกายของตน
๓๓. เจ ลา เจ ลา
ความโกรธ ดุ สุรเสียงที่เปล่งออกมาดุจเสียงคำรามของฟ้า กระหึ่มไปทั่วสารทิศ
ธรรมเหมือนดังฟ้าร้องคำรามไปทุกสารทิศ เป็นเสียงแห่งพรหมเมื่อเหล่ามารได้ยินศัพท์สำเนียงนี้ ก็จะเกิดความสะดุ้งกลัว
๓๔. มอ มอ ฮัว มอ ลา
มอ มอ – การกระทำดี สามารถทำลายความกังวลแห่งภยันตรายได้
ฮัว มอ ลา – ธรรมะเป็นสิ่งลึกซึ้ง เข้าใจยาก และมีความศักดิ์สิทธิ์ไม่สามารถประมาณ หรือ
คาดคิดได้ เป็นประโยชน์ที่ไม่มีสิ่งใดทัดเทียม
๓๕. หมก ตี ลี
หลุดพ้น
ผู้ปฏิบัติได้เช่นนี้ ย่อมบรรลุสู่ภูมิแห่งพุทธ
๓๖. อี ซี อี ซี
การชักชวนตามพระศาสนา ทุกสรรพสิ่งให้ดำเนินไปตามธรรมชาติ
ทุกสิ่งปล่อยให้ดำเนินไปตามเหตุปัจจัยปรุงแต่ง อย่าฝืนกระทำตามใจชอบ
๓๗. สิด นอ สิด นอ
เป็นมหาสติ มีจิตใจมั่นคงสามารถเข้าสู่มหาปัญญา
..ผู้ปฏิบัติธรรม มีความสว่างแห่งสติปัญญาอยู่ ถ้าใช้จิตนี้เป็นฐานใช้ธรรมให้เป็นประโยชน์ ก็จะได้รับฐานธาตุที่สดชื่น แต่หากไม่มีจิตใจมั่นคงกำจัดกิเลสในตนไม่หมด ก็ไม่มีทางที่จะให้ความว่างแห่งสติปัญญาที่มีอยู่ดั้งเดิมปรากฏออกมาได้เลย
๓๘. ออ ลา ซัน ฮู ลา เซ ลี
ออ ลา ซัน – ความผ่านธรรมไปถึงธรรมราชา มีความอิสระในธรรม
ฮู ลา เซ ลี – การได้พระธรรมกายอันบริสุทธิ์ ได้ดวงแก้วแห่งพระรัตนะ
๓๙. ฮัว ซอ ฮัว ซัน
ฮัว ซอ – ผู้ที่มีธรรม ตั้งอยู่ในขันติธรรม
ฮัว ซัน – ผู้บรรลุธรรม มีความสุขอันแท้จริงยากจะบรรยาย
เป็นการอนุโมทนาตามเหตุตามปัจจัย…ความสุขที่แท้จริง จะต้องได้จากการปฏิบัติที่ยากลำบาก ถ้าสามารถอดทนต่อความยาก ลำบากก็จะเข้าถึงความสุขอันยิ่งได้
๔๐. ฮู ลา เซ เย
จะต้องมีความรู้ด้วยตนเอง ผู้จะบรรลุธรรมหากสามารถละการยึดเกี่ยวเข้าถึงสภาวะดั้งเดิม ก็จะพบพระพุทธเจ้าได้ทุกพระองค์
๔๑. ฮู ลู ฮู ลู มอ ลา
การประกอบพิธีตามปรารถนา ประกอบพิธีกรรมไม่ละจากตัวตน
๔๒. ฮู ลู ฮู ลู ซี ลี
การประกอบธรรม โดยปราศจากความคิดคำนึงมีความเป็นอิสระสูง
๔๓. ซอ ลา ซอ ลา
ผู้ปฏิบัติเพียงแต่มีความมุ่งมั่น มีความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่อง มีจิตอันเป็นหนึ่งเดียว ก็จะได้เห็นองค์พระโพธิสัตว์
๔๔. สิด ลี สิด ลี
ความเป็นมหามงคลอันสูงสุด สามารถอำนวยประโยชน์ และคุ้มครองสรรพสัตว์โดยไม่ละทิ้ง
๔๕. ซู ลู ซู ลู
น้ำอมฤตทานสามารถอำนวยประโยชน์แก่สัตว์โลกทั้งปวง
๔๖. ผู่ ถี่ เย ผู่ ถี่ เย
การตรัสรู้ธรรม ตรัสรู้ถึงภูมิจิต ผู้ที่ปฏิบัติจะต้องมีความวิริยะพากเพียรอย่างแรงกล้า ปฏิบัติทุกวันทุกคืนเสมอต้นเสมอปลายไม่ท้อถอย
๔๗. ผู่ ถ่อ เย ผู่ ถ่อ เย
เป็นการรู้ในธรรม รู้ในจิต ผู้ปฏิบัติจะต้องถือ “ตัวเขา-ตัวเรา” เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่เพียงแต่ไม่เห็นลักษณะตัวเขาตัวเรา แม้สรรพสัตว์ในทุคติ ก็ต้องถือว่าเท่าเทียมกับเรา
๔๘. มี ตี ลี เย
มหากรุณา ให้ผู้ปฏิบัติต้องเจริญเมตตากรุณาจิต เพื่อให้สรรพสัตว์เข้าถึงโพธิมรรค
รักในตนเองเท่าใด ก็ให้รักผู้อื่นเท่านั้น
๔๙. นอ ลา กิน ซี
นักปราชญ์ผู้รักษาตนเองได้ มีมหากรุณาจิต
ผู้ปฏิบัติจะต้องเคารพนักปราชญ์ เห็นผู้ทำดีจะต้องช่วยกันรักษา ผู้ที่เกิดความท้อถอยก็ต้องส่งเสริมให้กำลังใจ
๕๐. ตี ลี สิด นี นอ
ความคมของวัชระ ให้คนเรามีความมั่นคงในการปฏิบัติธรรม
๕๑. ผ่อ เย มอ นอ
สุรเสียงก้องไปสิบทิศ เป็นสุรเสียงแห่งความปิติยินดี
๕๒. ซอ ผ่อ ฮอ
ความสำเร็จผล มงคล นิพพาน ระงับภัยเพิ่มพูลประโยชน์ พระสัทธรรมไม่เกิดไม่ดับ เป็นสภาวะอันสงบมาแต่เดิม
๕๓. สิด ถ่อ เย
ความสำเร็จในธรรมทั้งหลาย เข้าถึงพระวิสุทธิมรรคปราศจากขอบเขตอันจำกัด สรรพสัตว์เพียงแต่ละวางจากลาภยศชื่อเสียง ก็จะเข้าถึงความหลุดพ้นได้
๕๔. ซอ ผ่อ ฮอ
ผู้ปฏิบัติถ้าเห็นแจ้งในพระสัจธรรมและความหลอกลวง(ไม่แท้) ก็จะสำเร็จได้ง่าย
๕๕. หม่อ ฮอ สิด ถ่อ เย
ความไพศาลของพระพุทธธรรม ผู้ใดน้อมนำไปปฏิบัติจะสำเร็จในพระพุทธผล
๕๖. ซอ ผ่อ ฮอ
เน้นย้ำประโยชน์ในการปฏิบัติธรรม
๕๗. สิด ทอ ยี อี
สิด ทอ – ความสำเร็จ
ยี อี – ความว่างเปล่า
ทวยเทพเจ้าต่างได้รับความสำเร็จอันเป็นความว่างเปล่า (สุญญตาธรรม)
๕๘. สิด พัน ลา เย
เป็นความอิสระสมบูรณ์ เป็นการกล่าวถึงบรรดาเทพีที่ต่างสำเร็จในอิสระธรรม
๕๙. ซอ ผ่อ ฮอ
อสังสกฤตธรรมนั้น เป็นสภาวธรรมที่สมบูรณ์โดยอิสระ เป็นการประกาศมหามรรคที่ยิ่งใหญ่มีผลที่ลึกซึ้ง
๖๐. นอ ลา กิน ซี
ความสำเร็จด้วยความรัก ความเมตตากรุณา การปกปักษ์รักษา
๖๑. ซอ ผ่อ ฮอ
แสดงถึงความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์
๖๒. มอ ลา นอ ลา
มอ ลา – มโนรถ ความหวัง ความประสงค์
นอ ลา – อนุตตรธรรม
การปฏิบัติอนุตตรธรรมสมดังประสงค์
๖๓. ซอ ผ่อ ฮอ
พระโพธิสัตว์มุ่งเน้นให้คนปฏิบัติธรรม อีกทั้งยังเปิดเผยหัวใจอันลึกซึ้งของมหามรรคนี้
๖๔. สิด ลา เซง ออ หมก เค เย
เป็นการแสดงความรักของพระโพธิสัตว์ต่อหมู่ชน
๖๕
-------------------------------------------------------------------------------------
๖๖. ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ ออ สิด ถ่อ เย
ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ – สัตว์ทุกประเภทมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันสามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิได้เหมือนกัน
ออ สิด ถ่อ เย – สรรพสัตว์มีโอกาสร่วมรับความสุขสบายทั่วถึงกัน
บุคคลมีขันติธรรมก็จะเข้าถึงธรรมได้ด้วยดี สามารถสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ไม่จำกัด
๖๗. ซอ ผ่อ ฮอ
(ต่อเนื่องกับบทก่อน) ความเมตตาอันสูงสุด
๖๘. เจ กิด ลา ออ สิด ถ่อ เย
เจ กิด ลา – การใช้วชิรจักรปราบเหล่ามาร
ออ สิด ถ่อ เย – ความสำเร็จอันไม่มีสิ่งใดเทียบได้
การใช้วชิรธรรมจักร ปราบเหล่ามารศัตรูได้รับความสำเร็จ
๖๙. ซอ ผ่อ ฮอ
(ต่อเนื่องกับบทก่อน) สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนสำเร็จในความบริสุทธิ์ได้ จึงไม่ควรประกอบอกุศลกรรมทั้งหลาย
๗๐. ปอ ทอ มอ กิด สิด ถ่อ เย
ปอ ทอ มอ กิด – พุทธธรรมเป็นธรรมที่ไม่มีขอบเขต จะต้องปฏิบัติเพื่อได้รับความสุขร่วมกัน
สิด ถ่อ เย – ย้ำเตือนให้ผู้ปฏิบัติจะต้องประกอบด้วยสติปัญญาเพื่อการหลุดพ้น ละจากกิเลส
๗๑. ซอ ผ่อ ฮอ
(ต่อเนื่องกับบทก่อน) ผู้ปฏิบัติไม่ยึดในทางใดทางหนึ่ง ปฏิบัติโดยการพิจารณา พร้อมทั้งมีหิริโอตตัปปะ
..มรรคผลนั้นสำเร็จได้ด้วยตนเอง สำเร็จได้ด้วยการพิจารณาในทุกขณะจะต้องพิจารณาจิตของตน รักษาไว้ในทุกเหตุปัจจัยไม่ให้วิตกจิตเกิดขึ้นได้
๗๒. นอ ลา กิน ซี พัน เค ลา เย
นอ ลา กิน ซี – รักษาไว้ด้วยความเป็นภัทร
พัน เค ลา เย – เถระเพ่งโดยอิสระ
เป็นที่รักของผู้เจริญ เป็นที่รักของพระอริยะ
๗๓. ซอ ผ่อ ฮอ
(ต่อเนื่องกับบทก่อน) การปฏิบัติให้ถือเอาสัมมาจิต และความมีสัจเป็นหลัก
๗๔. มอ พอ ลี เซง กิด ลา เย
มอ พอ ลี เซง – ผู้กล้า
กิด ลา เย – สภาวะเดิม
คุณธรรมจะสำเร็จได้ ด้วยสภาวะแห่งเมตตาธรรม หากจิตตั้งอยู่ในอกุศลก็ย่อมเป็นการยากที่จะสำเร็จพระอนุตตรธรรม
๗๕. ซอ ผ่อ ฮอ
เป็นการรวมเอาพระคาถาทั้งหมดแห่งมหากรุณาธารณีสูตรมาไว้ในประโยคนี้ มีนัยบ่งบอกถึงความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์ เพื่อโปรดเหล่าสรรพสัตว์ทั้งปวงให้ได้รับหิตานุหิตประโยชน์ มีพระสัมมาสัมโพธิเป็นหลักชัย
๗๖. นำ มอ ห่อ ลา ตัน นอ ตอ ลา เย เย
เน้นย้ำให้พยายามควบคุมกายใจไม่ให้ลื่นไหลไปตามอารมณ์ที่มากระทบ โน้มนำเอาฌานสมาธิเพ่งการเกิดการดับ
๗๗. นำ มอ ออ ลี เย
เป็นการสาธยายมนต์สรรเสริญพระอริยะ และกล่าวย้ำถึงการปฏิบัติธรรม ต้องละความเป็นตัวตน, บุคคล, เรา-เขา จึงสามารถไม่ให้เกิดความคิดนึกอันเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ได้
ความนึกคิดติดยึดไม่เกิด ความเข้าใจถึงธรรมก็จะเป็นที่หวังได้
๗๘. ผ่อ ลู กิต ตี
พระสัทธรรมไม่มีความสิ้นสุด บรรดาผู้ปฏิบัติธรรมย่อมมีความบริสุทธิ์เป็นเครื่องอยู่ นำทางสู่แดนสุขาวดี
มีการเกิดย่อมต้องมีการตาย มีความชนะย่อมต้องมีความพ่ายแพ้…แต่ชาวโลกผู้ตกอยู่ภายใต้อวิชชากลับยินดีต่อการเกิดเกลียดชังความตาย ท้ายที่สุดก็ต้องตายอยู่นั่นเอง ฉะนั้นหากต้องการรอดพ้นจากความตาย จะต้องค้นหาความเป็นในความตายให้ได้เสียก่อน
๗๙. ชอ พัน ลา เย
ผู้ปฏิบัติต้องสำรวมตาเห็นรูป ไม่ปรุงแต่งไปตามรูปที่มองเห็น
๘๐. ซอ ผ่อ ฮอ
(ต่อเนื่อง) สำรวมหูฟังเสียง ไม่ปรุงแต่งไปตามเสียงที่ได้ยิน
๘๑. งัน สิด ติน ตู
สำรวมจมูกดมกลิ่น ไม่ปรุงแต่งไปตามกลิ่นที่จมูกดม
๘๒. มัน ตอ ลา
สำรวมลิ้นรับรส ไม่ปรุงแต่งไปตามรสที่ลิ้นรับ
๘๓. ปัด ถ่อ เย
สำรวมกายถูกต้องสัมผัส ไม่ปรุงแต่งไปตามที่ร่างกายถูกต้องสัมผัส
๘๔. ซอ ผ่อ ฮอ
สุดท้ายสำรวมใจรับรู้อารมณ์ ไม่ปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์ใดๆที่ใจรับรู้ รวมเรียกว่า สำรวมอินทรีย์ ๖ อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ บรรลุเป็นโพธิสัตว์อันบริสุทธิ์