บายศรี


ความหมายของบายศรีสู่ขวัญ
บายศรี เป็นของสูงเป็นสิ่งที่มีค่าเป็นสิ่งสำคัญในพิธี 
คำว่า บาย ภาษาเขมร แปลว่า ข้าวสุก 
บาย ภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า จับต้อง สัมผัส 
ศรี เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤตตรงกับ ภาษาบาลี ว่า สิริ แปลว่า มิ่งขวัญ

        คำว่า “ บายศรี ” แปลว่า ข้าวขวัญ หรือ สิ่งที่ น่าสัมผัสกับความดีงาม ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแปลว่า ภาชนะใส่เครื่องสังเวยในพิธีทำขวัญ หรือ สู่ขวัญ จัดตกแต่งให้สวยงาม เป็นพิเศษด้วยใบตอง และดอกไม้สด มีข้าว ขนม ข้าวต้มเป็นเครื่องประกอบอันสำคัญ การทำพิธีเรียกขวัญ จึงเรียกว่า “ บายศรีสู่ขวัญ ”
        คำว่า “ พาขวัญ ” เป็นภาษาอีสาน มีความหมายเช่นเดียวกับ “ พานบายศรี ” มีการแต่งพาขวัญพร้อมเครื่องสังเวยต่างๆ เหมือนกัน
        พิธีบายศรีสู่ขวัญมาพร้อมกับพราหมณ์ทมิฬชานอินเดียพิธีใดเป็นพิธีเทวดาต้องการที่จะอัญเชิญเทวดามาเป็นประธาน พิธีบวงสรวงเทวดา จะ มีขนมต้มขาว มะพร้าวอ่อน กล้วย ข้าวย้อมสีเป็นต้น ความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่าในร่างกายเรามี 2 สิ่งรวมกัน คือร่างกายและจิตใจหรือขวัญ 
        ขวัญ ความหมายเป็นนามธรรมอันหนึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน คล้ายกำลังของจิตนิยมกันว่ามีอยู่ในตัว  คือความรู้สึก ถ้าขวัญของผู้ใดอยู่กับตัว ผู้นั้นจะมีความสุขกายสบายใจเป็นปกติ แต่ถ้าขวัญของผู้ใดหลบลี้หนีหาย ผู้นั้นจะมีลักษณะอาการตรงกันข้าม จึงเชื่อว่าพิธีสู่ขวัญเป็นพิธีหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมเพิ่มพลังใจให้เข้มแข็ง ย่อมส่งผลให้สามารถดำรงตนให้อยู่ในสังคมและประกอบสัมมาชีพได้เป็นปกติสุข นอกจากนี้คำว่า “ ขวัญ ” ยังใช้เป็นคำเรียกสิ่งอันเป็นที่รัก หรือที่ดีอีกด้วย เช่น ขวัญใจ ขวัญตา เมียขวัญ จอมขวัญ ขวัญเมือง ฯลฯ เป็นต้นด้วยครับ

การบายศรีสู่ขวัญของชาวอิสา ป็นกุศโลบายให้คนมีน้ำจิตน้ำใจอันใสบริสุทธิ์แสดงมุทิตาจิตต่อกัน คงวิวัฒนาการมาจากพิธีพราหมณ์ เพราะบรรพบุรุษเคยนับถือทั้งพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ เป็นการเรียกร้องพลังทางจิต จะได้ช่วยให้มีพลังใจเข็มแข็ง สามารถฟันฝ่าอุปสรรคหรือภัยพิบัติได้นั้นเอง จึงเป็นประเพณีถือปฏิบัติยั่งยืนมาจนสมัยนี้

ประเภทของการสู่ขวัญ แบ่งเป็น 3 ประเภท
1 การสู่ขวัญคน  จุดมุ่งหมาย 
ก. เพื่อแก้ไขอาการเจ็บป่วยที่หาสาเหตุมิได้
ข. ใช้ในการอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขึ้นสู่หิ้งบูชาหรือปลุกเสก
ค. เด็กที่มีอาการตกใจง่าย ไม่สบาย นอนไม่สนิทในเวลากลางคืน
ง. งานบวช

2 การสู่ขวัญสัตว์ เพื่อขอขมาที่นำสัตว์ต่างๆมาใช้งาน

3 การสู่ขวัญสิ่งของ เช่น ขวัญข้าว(เพื่อผลผลิตที่ดีงาม บ้านเรือนเพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข)

ประเภทของบายศรี
      ในภาคเหนือจะเรียกบายศรีว่า " ใบสี " , " ใบสรี " หรือ " ใบสีนมแมว " และจะเรียกพานบายศรีว่า ขันใบสี เพราะชาวล้านนาจะเรียกพานว่า ขัน แล้วเรียกขันว่า สลุง บายศรีแยกเป็น 4 ประเภท คือ
1.บายศรีหลวง 
2.บายศรีนมแมว 
3.บายศรีปากชาม 
4.บายศรีกล้วย 
       ส่วนในภาคอีสานจะเรียกบายศรีว่า " พาบายศรี " " พาขวัญ " หรือบางท้องถิ่นเรียกว่า " ขันบายศรี " ในภาคอีสานจะแยกบายศรีออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.พาขวัญ 
2.พาบายศรี 
3. หมากเบ็ง 
       ในส่วนภาคอีสานที่มีเชื้อสายของเขมรจะมีการเรียกบายศรีว่า " บายแสร็ย " ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือบายแสร็ยเดิม ( บายศรีต้น ) บายแสร็ยเถียะ ( บายศรีถาด ) บายแสร็ตจาน ( บายศรีปากชาม ) ชื่อบายศรี ได้แก่ 
1.บายศรีบงกช  
2.บายศรีพานพุ่ม 
3.บายศรีผูกข้อมือบายศรีขันผูกมือ ใช้สำหรับพิธีแต่งงาน งานบวช สืบชะตา หรือให้เป็นของขวัญของที่ระลึก 
4.บายศรีเทพหงส์ ริบบิ้นเงิน-ทอง 
5.บายศรีผูกข้อมือ บายศรีขันผูกมือ ใช้สำหรับพิธีมงคลของชาวล้านนา
6.บายศรีเทพ  
7.บายศรีพานพุ่ม 
8.บายศรีเทพหงส์  
9.บายศรีเทพ   
10.บายศรีเทพพรหม 
11.บายศรีธรรมจักร 
12.บายศรีปากชาม

 บายศรีมีหลายประเภทแยกตามการใช้งานดังนี้ 
๑. บายศรีราษฎร์ ได้แก่
- บายศรีปากชาม เป็นบายศรีขนาดเล็กสุด บรรจุในชามขนาดพอเหมาะ (ชามข้าวต้ม ไม่ใช่ชามโฟม อย่างปัจจุบัน) ใช้สำหรับบวงสรวงบูชา ครู เทพยดา ทั่วไป
- บายศรีใหญ่ หรือ บายศรีสู่ขวัญ หรือ บายศรีเชิญขวัญ บางที่เรียก บายศรี รับขวัญ เป็นบายศรีขนาดใหญ่ 
จัดใส่ พาน โตก ตะลุ่ม จะทำหลายชั้นซ้อนกันก็ได้ตามขนาดของพิธี
๒. บายศรีพิธีหลวง พระราชประเพณีนิยม ประกอบด้วยบายศรี ๓ ชนิดดังนี้
- บายศรีสำรับเล็ก ประกอบด้วย บายศรีทำจากผ้าตาดเงินมี ๓ ชั้น บนพานแก้ว เรียกว่า “บายศรีแก้ว” ถ้าผ้าตาดทองเรียก “บายศรีทอง” ถ้าผ้าตาดเขียวเรียก “บายศรีเงิน” จัดวางโดยบายศรีทองอยู่ขวา บายศรีเงินอยู่ซ้ายและบายศรีแก้วอยู่ตรงกลาง 
- บายศรีสำรับใหญ่ เหมือนบายศรีสำรับเล็ก แต่มีขนาดใหญ่กว่า สำหรับพิธีทำขวัญสมโภชงานสำคัญ โดยจัดแต่ละชุดมี ๕ ชั้น 
- บายศรีตองรองทองขาว ก็คือบายศรีใหญ่ ใช้แป้นและแกนเป็นทองขาวแทนไม้ทั่วไป
*** นอกจากนี้ ยังมี บายศรีชั้นหรือบายศรีต้น มีหลายขนาดตามบรรดาศักดิ์คือ
- ๙ ชั้น สำหรับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
- ๗ ชั้น สำหรับ เจ้านายชั้นเจ้าฟ้า และพระราชอาคันตุกะชั้นประธานาธิบดี 
- ๕ ชั้น สำหรับ เจ้านายที่ทรงกรมหรือเสนาบดี- ๓ ชั้น ใช้ในพิธีสมรสชั้นหลานของเจ้านายฝ่ายเหนือ

เราใช้บายศรีอย่างไรและสำหรับงานลักษณะใด คำตอบคือ ใช้ในงานพิธีมงคลของคนไทยโดยทั่วไปยกตัวอย่างเช่น - พิธีทำขวัญเดือน , พิธีทำขวัญตัดจุกหรือโกนจุก ,พิธีทำขวัญบวชเณร และ บวชนาค , แต่งงาน (เราเรียกพิธีนี้ว่า ทำขวัญบ่าวสาว รดน้ำสังข์ นั่น  เอง) , การสู่ขวัญ รับขวัญ ผู้ที่มารับตำแหน่งใหม่ การเลื่อนยศ  การจบการศึกษา การกลับมาจากสงคราม , เจ็บป่วยด้วยสาเหตุต่างๆหรือไม่ทราบสาเหตุ หรือที่เกิดจากอุบัติเหตุ  ขึ้นบ้านใหม่เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข  โดยมีบายศรีสังเวยผีบ้าน ผีเรือน กับพระภูมิเจ้าที่ , เมื่อข้าวเริ่มออกรวง  มีพิธีบายศรีสังเวยทำนา บูชาแม่โพสพให้บำรุงรักษาต้นข้าว บูชาพระพิรุณให้บันดาลฝนตกพอเพียงแก่การทำนา มีน้ำท่าบริบูรณ์ตลอดฤดูกาล , ทำขวัญข้าว เราจะทำเมื่อเก็บเกี่ยวเต็มยุ้งฉางแล้ว สำหรับเชิญขวัญแม่  โพสพให้มาอยู่ในยุ้งฉาง ยามขายก็ให้ได้ราคา  ประกอบด้วยบายศรีต้น ๕ ชั้น พร้อมเครื่องสังเวยถือว่าเป็นงานใหญ่เพราะอัญเชิญเทพยาดาทุกชั้นฟ้ามาร่วมพิธี , -- ในการตั้งศาลภูมิ หรือสังเวยประจำปีต้องตั้งบายศรีประกอบด้วยทุกครั้ง พิธีวางศิลาฤกษ์ หรือยกเสาเอกของบ้านเรือน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ นั้น ต้องทำพิธีเซ่น เจ้ากรุงพาลี พระภูมิเจ้าที่ แม่พระธรณี เทวดาอารักษ์ทั้งหลายก่อนยกเสาลงหลุม ทำบัตรพลีบูชา ตั้งบายศรีสังเวย และ ขอขมา ตลอดจนเจ้าที่เจ้าทาง นางไม้ซึ่งเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับเสาอันเคยเป็นต้นไม้ใหญ่อยู่ในป่ามาก่อน ขอให้งานดำเนินไปด้วยดี ไม่มีอุปสรรค์ใด ๆ

    พิธีไหว้ครูดนตรี โขน ละคร ฟ้อนรำประจำปี หรือแม้แต่ก่อนแสดง ครั้งสำคัญ ๆ ต้องมีการตั้งเครื่องสังเวยบูชาด้วยบายศรีทุกครั้ง เพื่ออัญเชิญปฐมบรมครู คือ สมเด็จพระบรมศาสดา บิดา มารดา  ครู อุปัชฌาย์อาจารย์ ที่ประสิทธิ์ประสาทสรรพวิชาให้หาเลี้ยงตน ตลอดจนท่านท้าวมหาพรหม มหาเทพทั้งหลาย อีกทั้งเทพแห่งศิลปะ  ศาสตร์ อาทิ พระศิวะ พระนารายณ์ พระพิฆเนศวร พ่อแก่ พระประคนธรรพ์ พระปัญจสิงขร พระพิราพ และพระวิษณุกรรม  มาอวยชัยให้พร มักใช้บายศรีปากชาม ๗-๙ ชั้น จำนวน ๓ คู่ พร้อมเครื่องสังเวย ๓ สำรับ 
-- บางครั้งเมื่อได้รับโชคลาภสิ่งของอันเป็นมิ่งมงคล  หรือก่อนลงมือทำงานอันสำคัญ เราอาจหาฤกษ์งามยามดี ตั้งพิธีบวงสรวงสังเวยเทพยดา เพื่อขอความเมตตาในบางสิ่งบ่างอย่าง   หรือแสดงความขอบคุณในกรณีที่ได้ลาภ ได้ยศประกอบด้วย
- บายศรีปากชาม ๙ ชั้น ๑ คู่ 
- บายศรีใหญ่ ๙ หรือ ๑๖ ชั้น 
สำหรับเทพพรหมอันสูงศักดิ์ ๑ คู่ 
- พิธีเช่นนี้ ทำเพื่อบอกกล่าวขอขมาลาโทษ เนื่องจากอาจกระทำ  สิ่งใดผิดพลาดไปทั้งที่รู้และไม่รู้ต่อพระพุทธเจ้า ตลอดจนบิดามารดา   กับผู้มีพระคุณทั้งหลาย ครู อาจารย์ ด้วยเหมือนเป็นการสารภาพบาป   
-- ต่อไปก็เป็นพิธีเชิญทำขวัญช้างคนโบราณก่อนเข้าป่าคล้องช้าง  ต้องทำพิธีเซ่นสังเวยเทวดา ผีบ้านผีเรือนเพื่อเอาฤกษ์ บำรุงขวัญ ครั้นจะลงมือคล้องช้างก็เซ่นสรวงผีป่า เทวาอารักษ์ให้คล้องช้างโดยปลอดภัย เมื่อถึงบ้าน ก็ทำขวัญให้เลี้ยงเชื่อง 
จงรักภักดีต่อตนเองและควาญช้าง 
-- ชาวอีสาน เมื่อได้พระพุทธรูปมาใหม่ หรือ ใครนำพระพุทธรูปไปถวาย  จะช่วยกันทำบายศรีใหญ่ใส่ขันโตกทองเหลือง หรือโตกสาน โตกไม้สูงใหญ่หลายชั้น เพื่อทำขวัญเนื่องในงานฉลองพระพุทธรูปและขอพรพระพุทธานุภาพ และเทพยดาที่ประจำพระพุทธรูปองค์นั้น ขอให้คุ้มครองพวกตนให้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป ส่วนคณะผู้นำพระมาถวายนั้น ขอให้เดินทางสวัสดีมีโชคชัยอย่างนี้ เป็นต้น จะเห็นได้ว่า พิธีกรรมบางอย่าง มีไว้เพื่อจุดประสงค์ เป็นอุบายในการสั่งสอนลูกหลานผ่านพิธีกรรม เพื่อให้มี ธรรมะ มีสติ มีความอดทน ความศรัทธา ความสามัคคี  เป็นการปลูกฝังคุณธรรมหลายอย่าง ทั้งความกตัญญูความอ่อนน้อมถ่อมตน ความจงรักภักดี ความรับผิดชอบ การรู้หน้าที่แห่งตน การให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ความสามัคคี ฯลฯ จึงไม่ควรมองข้าม ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยไป หรือเห็นว่าเป็นเรื่องงมงาย

บายศรีปากชามครับ

บายศรีเทพ

บายศรีตอ

บายศรีหลัก

บายศรีธรรมจักร

บายศรีพรหม

พยาครุฑ

พญานาค


บทความแนะนำ

รวมบทความ

แปลภาษา
ติดตามข่าวสาร
ติดตามข่าวสารที่ทวิสเตอร์  Page Ranking Tool