บัว พันธุ์ไม้น้ำที่ถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ผุดผ่องและคุณงามความดีในพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบระดับสติปัญญาของมนุษย์กับการเจริญเติบโตของบัว เป็น 4 เหล่าคือ บัวในโคนตม บัวใต้น้ำ บัวปิ่มน้ำ และบัวเหนือน้ำ บัวเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่ดูสง่างาม ดอกมีขนาดใหญ่ มีสีสันสวยงาม เด่นสะดุดตาสะดุดใจแก่ผู้พบเห็น บางชนิดมีกลิ่นหอมน่าชื่นชม ด้วยเหตุนี้เองบัวจึงได้รับสมญาว่า “ราชินีแห่งไม้น้ำ” บัวเป็นพืชน้ำล้มลุก ลักษณะลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้า ไหล หรือหัว ใบเป็นใบเดี่ยวเจริญขึ้นจากลำต้น โดยมีก้านใบส่งขึ้นมาเจริญที่ใต้น้ำ ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ รูปร่างของใบส่วนใหญ่กลมมีหลายแบบ บางชนิดมีก้านใบบัว บัวชอบขึ้นในน้ำจืดออกดอกตลอดปี ชอบน้ำสะอาด อยู่ในน้ำลึกพอสมควร ถิ่นกำเนิดของบัวอยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
การปลูกบัวครั้งแรกมักนิยมปลูกกันในวันพุธ ด้วยความเชื่อกันว่า จะทำให้บัวผลิดอกบานสะพรั่งงดงามไปทั่วทั้งสระ
ปทุมชาติ หรือบัวหลวง มักนิยมใช้ประดับแจกันถวายหิ้งพระหิ้งบูชาครับเราสามารถพบเห็นดอกไม้ชนิดนี้กันได้มากก็ตามวัดวาอารามต่างๆ หรือในงานพิธีสำคัญทางศาสนา แต่ประโยชน์ของดอกบัวนั้นไม่ได้มีเพียงแค่เป็นดอกไม้มงคลเท่านี้นะ เพราะดอกบัวยังเป็นไม้ดอกไม้ประดับที่สวยงาม แถมมีคุณค่าทางสารอาหารอยู่มากมายจึงใช้เป็นอาหารได้ด้วย ที่น่าสนใจอีกข้อคือมีสรรพคุณช่วยทำให้สุขภาพดีและแข็งแรง
ชาวเอเชียถือว่าบัวหลวงเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความสงบสันติ การบรรลุธรรม การเกิดใหม่ และความอุดมสมบูรณ์ ทั้งพุทธและพราหมณ์ต่างถือว่าดอกบัวหลวงเป็นดอกไม้ศักดิ์สิทธิและเป็นต้นไม้ต้นแรกที่เกิดขึ้นบนโลก ชาวฮินดูเรียกบัวหลวงว่า ปัทมา ส่วนคำว่า ปทุม ในภาษาบาลีแปลว่า ต้นไม้ต้นแรก
ตำนานการสร้างโลกของศาสนาฮินดูระบุว่า พระนารายณ์ทรงรำพึงถึงการสร้างโลก จึงทรงแบ่งภาคออกเป็นพระวิษณุเพื่อให้ปฏิบัติภารกิจตามพระประสงค์ พระวิษณุนี้ทรงประทับอยู่บนบัลลังก์อนันตนาคราชในเกษียรสมุทร เมื่อบรรทมหลับไปก็สุบินนิมิตถึงพระกรณียกิจที่จะสร้างสรรค์สรรพสิ่ง พลันดอกบัวได้ผุดขึ้นจากพระนาภีและเหนือดอกบัวนั้นเป็นที่ประทับของพระพรหมซึ่งถือกำเนิดขึ้นเพื่อสร้างโลก ชาวอินเดียเชื่อว่าดอกบัวคือต้นกำเนิดของจักรวาล รูปเคารพในศาสนาฮินดูมักเป็นรูปเทพเจ้าประทับอยู่บนดอกบัวขนาดใหญ่ กลีบบัวที่บานออกนี้หมายถึงการเติบโตทางจิตวิญญาณ องค์เทพสำคัญอย่างพระนารายณ์และพระพรหมต่างก็ประทับบนดอกบัว เช่นเดียวกับพระอาทิตย์ซึ่งสถิตบนแท่นดอกบัว พระลักษมีผู้ถือกำเนิดจากฟองน้ำในเกษียรสมุทรก็ประทับบนดอกบัว ทั้งยังทรงมีกลิ่นกายหอมราวกับดอกบัวฟุ้งขจรไปไกลถึง 200 โยชน์ ส่วนพระสุรัสวดี มเหสีของพระพรหม ทรงประทับบนดอกบัวอันสื่อถึงสัจธรรมหรือความจริงสูงสุด
ในพุทธศาสนา ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะจำนวนดอกบัวที่งอกงามขึ้นในขณะเริ่มต้นกัปใหม่ เป็นนิมิตบ่งชี้ถึงจำนวนผู้ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในกัปนั้น ธรรมชาติของบัวนั้นยังแฝงปรัชญาลึกซึ้ง เตือนให้นึกถึงธรรมชาติของมนุษย์ที่ย่อมมีกิเลสอวิชชาเป็นเครื่องร้อยรัดมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป ดังที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบมนุษย์หลายประเภทเหมือนดอกบัว 4 เหล่า ต่างมีสติปัญญาเข้าถึงธรรมะแตกต่างกัน
ในศาสนาพุทธนิกายมหายาน พระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความกรุณาก็ประทับบนดอกบัวหรือถือดอกบัวในพระหัตถ์ ชาวจีนเรียกดอกบัวว่า “เหอฮวา” หรือ “เหลียนฮวา” เป็นดอกไม้ที่สื่อถึงความงามและความบริสุทธิ์ ดังที่มีการกล่าวถึงมากมายในวรรณคดีโบราณของจีน ชาวจีนโบราณยังถือว่า วันที่ 24 ของเดือน 6 เป็นวันเกิดของดอกบัว จึงมีการจัดงานเทศกาลวันเกิดของดอกบัวและมีการแข่งเรือกันอย่างตระการตาในเมืองซูโจว
ในประเทศอียิปต์ ถือว่าดอกบัวสีน้ำเงิน ถือเป็นสัญลักษณ์ของอียิปต์ตอนเหนือ มีพลังเร้นลับเป็นความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตายหรือการตายแล้วได้กลับฟื้นคืนมาใหม่
บัวเป็นพืชล้มลุก ลักษณะลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้า ไหล หรือหัว ใบเป็นใบเดี่ยวเจริญขึ้นจากลำต้น โดยมีก้านใบส่งขึ้นมาเจริญที่ใต้น้ำ ผิวน้ำ หรือเหนือน้ำ รูปร่างของใบส่วนใหญ่กลมมีหลายแบบ บางชนิดมีก้านใบบัว บัวเป็นราชินีแห่งไม้น้ำ จัดเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของคุณงามความดี บัวหลวงชอบขึ้นในน้ำจืด ออกดอกตลอดปี ชอบน้ำสะอาด อยู่ในน้ำลึกพอสมควร จะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมือนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ สีขาวอมเขียว หรือเทาชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนหลายสี
นักพฤกษศาสตร์ แบ่งบัวออกเป็น 3 สกุลใหญ่คือ
ในแต่ละสกุลสามาถจำแนกได้หลายชนิด สำหรับในประเทศไทยชนิดของบัวที่ปลูกเป็นการค้ามี 6 ชนิด
บัวสัตตบรรณ หรือสัตบัน ดอกขนาดใหญ่สีแดง มีกลิ่นหอมแรง
บัวกินสายสีชมพู มีดอกขนาดใหญ่สีชมพู กลิ่นหอมแรงคล้ายบัวสัตตบรรณ
บัวสัตบุต หรือ สัตตบุษย์ มีต้นใบคล้ายสองชนิดแรก แต่ดอกเป็นสีขาว
บัวรัตอุบล มีดอกสีแดงขนาดเล็กกว่าสามชนิดข้างต้น กลิ่นหอมแรง
บัวเศวตอุบล มีดอกขนาดเล็กเช่นเดียวกัน แต่ดอกสีขาว
บัวโกมุท เป็นบัวขนาดเล็ก ชาวบ้านเรียกบัวกินสายเช่นกัน ดอกสีแดง กลิ่นค่อนข้างหอม
บัวโกเมศ ลักษณะเหมือนบัวโกมุท แต่ดอกสีขาวเหลือบชมพู
บัวจงกลนี หรือจงกล ขนาดใหญ่ไล่เลี่ยกับบัวสัตตบรรณและบัวสัตตบุษย์ กลีบดอกหยิกซ้อนกันแน่น