ตังโจ่ย(ขนมบัวลอย)


          วันไหว้ขนมบัวลอย 2560 หรือ เทศกาลตังโจ่ย 2557 ตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม 2560 (ไทย ขึ้น๕ค่ำเดือน ๑๒ ปีระกา) (จีนถือวันที่๒๒เดือน๑๑ของจีนของทุกปี)  ประวัติวันไหว้ขนมบัวลอย ในอดีตประเทศไทยมีชาวจีนอพยพเข้ามาค้าขายและมาตั้งรกรากอาศัย แต่งงานอยู่กินกับคนไทยจนมีลูกหลานเป็นคนไทยเชื้อสายจีนเป็นจำนวนมาก ซึ่งหลังชาวจีนได้อพยพมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยก็ได้นำเอาเทศกาลตามประเพณีของ จีนเข้ามาปฏิบัติหลายเทศกาลที่หลายคนคงเคยได้ยินและรู้จัก อาทิเช่น เทศกาลกินเจ ตรุษจีน สารทจีน แต่ถ้าพูดถึงเทศกาลวันไหว้ขนมบัวลอย เชื่อว่าหลายคนอาจจะไม่รู้จัก  

          เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย หรือ เทศกาลตังโจ่ย คือ วันเปลี่ยนเทศกาลเป็นฤดูหนาว มีลักษณะเป็นวันที่พระอาทิตย์จะส่องแสงสั้นที่สุดหรือวันที่เป็นจุดสูงสุดใน ฤดูหนาว โดยเทศกาลไหว้ขนมบัวลอย ถือเป็นเทศกาลสุดท้ายของชาวไทยเชื้อสายจีนในรอบหนึ่งปีปฏิทิน ซึ่งในเทศกาลนี้จะมีการทำขนมบัวลอยหรือ ขนมอี๋ มาไหว้ฟ้าดิน ปึ๋งเถ่ากง ตี่จู๋เอี๊ย (เจ้าที่) เพื่อขอบคุณที่ได้ช่วยให้การดำรงชีวิตของสมาชิกทุกคนในครอบครัวสามารถดำรงมา ได้อย่างราบรื่นตลอดปีที่ผ่านมา และเพื่อขอพรให้ช่วยคุ้มครองคนในครอบครัวด้วย

          สำหรับขนมบัวลอยหรือขนมอี๋ ที่ใช้ในการไหว้จะทำจากแป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำต้มสุกจนเข้าที่และปั้นเป็น เม็ดกลม ๆ เล็ก ๆ นิยมผสมสีชมพูและสีขาว เมื่อปั้นเสร็จแล้วจึงนำลงไปต้มในน้ำเดือด คล้ายกับการทำบัวลอยน้ำกะทิของคนไทย แต่ขนมอี๋จะใช้น้ำตาลทรายขาวหรือน้ำตาลทรายแดงแทนกะทิ ที่สำคัญจะต้องมีขนมอี๋ลูกใหญ่ที่เรียกว่า อีโบ้ ใส่ลงไปในถ้วยขนมอี๋ที่จะไหว้ถ้วยละหนึ่งลูกด้วย
         ลักษณะกลมของขนมอี๋ สื่อความหมายถึง ความกลมเกลียวกันของคนในครอบครัว สีแดงและสีชมพู สื่อความหมายถึง ความโชคดี นอกจากนี้ ขนมอี๋ ยังถือเป็นขนมมงคลของชาวไทยเชื้อสายจีน ที่นิยมทำขึ้นในงานแต่งงานอีกด้วย

ของที่ใช้ในการไหว้ขนมบัวลอย

๑.กระถางธูป
๒. เทียนแดงหนึ่งคู๋
๓.ธูป ๓หรือ๕ ดอก
๔.ผลไม้
๕. น้ำชา๕ถ้วย
๖. ขนมบัวลอยห้าถ้วย

หน้าแรก | ดูบทความทั้งหมด
# 1
By หมอยา
On 2017-09-23 19:52:39

การกำเนิดของคำว่า แซ่  ในสมัยโบราณนั้นแซ่ตระกูลมีที่มาแตกต่างกัน แซ่เป็นอย่างหนึ่ง ตระกูลก็เป็นอย่างหนึ่ง แซ่ ในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า “ซิ่ง” ตามรากศัพท์หมายถึง เผ่าพันธุ์ที่มีสตรีเป็นหัวหน้าหรือผู้ให้กำเนิด ตระกูล ในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า “ซื่อ” ตามรากศัพท์หมายถึงฐานะของผู้ชายที่เป็นนักรบ  

 แซ่ ในความหมายเดิมๆ จึงเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเป็นคนอยู่เผ่าใด แซ่หรือซิ่งนั้น เป็นสิ่งแสดงสถานภาพการสมรสของฝ่ายหญิง 

ส่วนตระกูล เป็นเครื่องแสดงฐานะของบุคคล หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ซื่อหรือตระกูลเป็นสิ่งแยกวรรณะ 

แซ่ในยุคโบราณจึงมักมีรูปอักษรที่มีคำว่า “หนี่” หมายถึงผู้หญิง กำกับอยู่ด้วยเสมอ ส่วนซื่อหรือตระกูลนั้นมีใช้กันไม่แพร่หลายมากนัก จำกัดอยู่เฉพาะ ชนชั้น ผู้ดีมีฐานะทางสังคม อย่างเช่นหวงตี้ที่ถือกันว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์แรกของคนจีนทั้งมวล มาจากตระกูลกงซุน หมายความว่าเป็นหลานของกง ซึ่งเป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางระดับชั้นสมเด็จเจ้าพระยา หรือ Duke ของอังกฤษ 

สำหรับราษฎรธรรมดานั้นแต่เดิมไม่มีแซ่ตระกูล มีเพียงชื่อตัวที่เรียกว่า หมิง เท่านั้น ต่อเมื่อสังคมบ้านเมืองจีนขยายใหญ่โตมากขึ้นพร้อมกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และสถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปขุนนางศึกและชนชั้นเจ้าที่ดินทั้งหลาย ซึ่งมีอาณาเขตปกครองที่ดินทั้งหลายซึ่งมีอาณาเขต ปกครองที่ดินถือครองเพิ่มมากขึ้น จำต้องอาศัยประชาชนทั่วไปเป็นแรงงานสำคัญในการพัฒนาที่ดินตลอดจนการรบทัพจับศึก  ดังนั้นจึงต้องหาสมัครพรรคพวก ด้วยการเอาอกเอาใจคนในปกครองให้มีสิทธิมีเสียงมากขึ้น สัญชาตญาณของมนุษย์อย่างหนึ่งคือ ต้องการให้ผู้อื่นยอมรับตนเอง คนที่เป็นทาสหรือเป็นคนสามัญ ก็อยากให้ตนเองมีฐานะทางสังคมขึ้นมาบ้าง พวกเจ้านายทั้งหลายที่มีสติปัญญาความรู้ ย่อมเล็งเห็นความจริงในข้อนี้ จึงยินยอมให้คนในปกครองเกิดความรู้สึกจงรักภักดี ต่อตนเองด้วยการให้มาร่วมใช้แซ่ตระกูลของตน หรือคิดตั้งแซ่ตระกูลต่างๆ ให้ ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับแซ่ตระกูลของคนที่เป็นเจ้านาย 

ดังนั้น ในยุคจั้งกว๋อหรือยุครณรัฐ อันเป็นสมัยที่วอร์ลอร์ดทั้งหลาย ต่างแสวงหาอำนาจอิทธพลกันอย่างกว้างขวาง จึงมีการประทานแซ่ตระกูล ให้แก่คนทั่วไปนับแตันั้นมาการใช้แซ่ตระกูลของจีน ก็เป็นไปอย่างแพร่หลาย เพิ่มเติมจากแซ่เดิมแต่โบราณ ที่มีอยู่ไม่กี่แซ่ 

ตามตำนานโบราณบันทึกว่า หวงตี้หรือพระเจ้าเหลืองมีโอรสทั้งหมดยี่สิบห้าองค์ เกิดจากมเหสีสิบสององค์ โอรสทั้งหลายต่างใช้แซ่ของมารดาตนเอง จึงมีแซ่ที่สืบเชื้อสายมาจากหวงตี้สิบสองแซ่ บางตำนานว่าสิบสี่แซ่ ยังมีตำนานบางเล่มกล่าวว่า หวงตี้ได้พระราชทานแซ่แก่ขุนนาง ที่มีความดีความชอบให้ออกไปกินเมืองต่างๆ ขุนนางนั้นเลยใช้แซ่พระราชทานเป็นชื่อเมือง คนที่อยู่เมืองนั้นต่อมาก็ใช้ชื่อเมืองเป็นแซ่ของตน 

ในพระราชประวัติของพระเจ้าฮั่นเกาจู่ (หลิวปัง) จักรพรรดิปฐาราชวงศ์ฮั่น ซึ่งเคยเป็นสามัญชนมาก่อน ครั้นพระองค์ปราบดาภิเษกเป็นฮ่องเต้แล้ว ได้โปรดเกล้าฯให้ประชาชนทุกคนมีแซ่ตระกูลประจำตัว ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ขุนนางหรือไพร่ และจากยุคนี้เองที่แซ่ตระกูลได้มารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยรวมเรียกว่าแซ่ และให้ถือตามแซ่ของบิดาอย่างเป็นทางการ 

จากการที่มีการใช้แซ่กันอย่างกว้างขวาง ไม่เลือกคนมีบุญหนักศักดิ์ใหญ่หรือประชาชนคนสามัญทั่วไป จึงทำให้เกิดความนิยมขึ้นมาอย่างหนึ่งคือ การสืบเสาะหาความเป็นมาของแซ่ตระกูล 

ยุคราชวงศ์ฮั่นจึงได้มีนักศึกษาประวัติศาสตร์สาขามานุษยวิทยาแขนงตระกูลวิทยา Anthroponomy เกิดขึ้นนักศึกษาเหล่านี้มีความสนใจค้นคว้า ถึงความเป็นมาของแซ่ตระกูลต่าง ทั้งการเริ่มต้นและการดับสูญ นับเป็นแขนงวิชาหนึ่ง ซึ่งเป็นกระจกสะท้อนถึงวิวัฒนาการของสังคมมนุษยได้ดีพอควร 

จากความมุ่งหมายเดิมที่ต้องการเพียงแต่สืบค้น ถึงที่มาของบรรพบุรุษในแซ่ตระกูลตนเอง กลายเป็นการสืบสาวโยงใยไปถึงบุคคลที่อยู่ในยุคเดียวกัน ความเกี่ยวพันกันทั้งในฐานะญาติพี่น้อง มิตรสหาย หรือศัตรู 

ในปี ค.ศ.1990 เช่นกัน รัฐบาลจีนได้สำรวจแซ่ตระกูลจีนที่มีมาแต่โบราณถึงปัจจุบัน ปรากฏว่ามีแซ่ตระกูลทั้งหมดมากกว่า 8,000 แซ่ แต่มีบางแซ่ได้เลิกใช้กันไปแล้วที่ยังมีอยู่ทุกวันนี้มีเพียง 5,007 แซ่ โดยสามารถแยกประเภทของการใช้แซ่ออกได้ตามลักษณะสำคัญดังนี้ 


บทความแนะนำ

รวมบทความ

แปลภาษา
ติดตามข่าวสาร
ติดตามข่าวสารที่ทวิสเตอร์  Page Ranking Tool